หลังจากมีการประกาศอย่างเป็นทางการให้ยกเลิกกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารการจัดการความปลอดภัยฯ ปีพ.ศ 2549 และได้มีการประกาศใช้ฉบับใหม่นั่นคือ กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ ปีพ.ศ 2565 มีรายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในหมวดที่ 1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน วันนี้เราจะพูดถึงสาระสำคัญของ จป หัวหน้างาน มาดูกันว่ากฎหมายใหม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง โดยเฉพาะนายจ้างที่กำลังวางแผนส่งลูกจ้างเข้ารับการอบรม จป หัวหน้างานควรรู้เรื่องนี้ไว้ 

จป หัวหน้างานมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง 

กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ ปีพ.ศ 2565 ซึ่งเป็นกฎกระทรวงฉบับใหม่ถูกบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคมปีพ.ศ 2565 ผู้ที่จะเข้ารับตำแหน่ง จป หัวหน้างานนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งมีอะไรบ้างมาดูกัน 

  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานระดับหัวหน้างานจะต้องผ่านการฝึกอบรม จป หัวหน้างานในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน 
  • เคยเป็น จป หัวหน้างานหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัยฯ ปีพ.ศ 2549 

กฎกระทรวงฉบับใหม่ ได้ระบุบทบาทหน้าที่ของ จป หัวหน้างานมีทั้งหมด 10 ข้อ สิ่งที่เพิ่มเข้ามาจากกฎหมายฉบับเดิมมี 1 ข้อนั่นคือข้อ 3 โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานหรือ จป หัวหน้างานนั้นต้องจัดทำคู่มือด้านความปลอดภัยและทบทวนคู่มือในทุกๆ 6 เดือน การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้น โดยทำงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับเทคนิค เทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการความปลอดภัย หรือสรุปให้เข้าใจได้ง่าย ๆคือ จป หัวหน้างานนั้นเป็นผู้ที่ทำคู่มือการทำงานหรือ WI นั่นเอง

สถานประกอบกิจการใดบ้างต้องมี จป หัวหน้างาน 

สถานประกอบกิจการบัญชีที่ 1 บัญชีที่ 2 และบัญชีที่ 3 ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างในระดับหัวหน้างานทุกๆ คนเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานหรือ จปหัว หน้างานภายใน 120 วันนับตั้งแต่วันที่มีลูกจ้างครบตามจำนวนที่กำหนดและส่งลูกจ้างเข้ารับการอบรม จป หัวหน้างาน ในกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตาม จะถือว่ามีความผิดในมาตรา 56 ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 23 และมาตราที่ 16 หรือมาตราที่ 32 ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  

ค่าใช้จ่ายในการอบรม จป หัวหน้างานแพงหรือไม่ โดยทั่วไปหลักสูตรนี้ราคาไม่แพงเหมือนกับหลักสูตร จป ในระดับอื่นๆ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,300 บาทสำหรับบุคคลทั่วไปหากเป็นหลักสูตร in House ค่าใช้จ่ายประมาณ 25,000 บาท